what.gif (4683 bytes)  aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes) [กลับไปหน้าแรก] updated.gif (1754 bytes)

การเล่น  แกล - มอ  ของชาวส่วย   อำเภอสำโรงทาบ

       ชุมชนชาวส่วยมีประเพณีดั้งเดิมซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณ จนถึงปัจจุบันอยู่อย่างหนึ่งคือ การ "แกล ออ - แกล มอ" ถ้าจะแปลโดยความหมายคือ การเล่นอ้อ - เล่น มอ
       ชาวส่วยถือว่าในร่างกายของคนเรานั้นมีส่วนประกอบที่ สำคัญอยู่ 2 ส่วน คือ 
       1. ร่างกาย
       2. จิตใจ 
       ในการรักษาผู้ป่วยทางด้านร่างกายคือ  การรักษาด้วยหยูกยา  ผู้ให้การรักษาก็คือ แพทย์ หรือผู้มีความรู้ทางหยูกยา หรือโอสถสาร  แต่สิ่งหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถต้านทานหรือต่อสู้กับความเจ็บป่วยนี้ได้ ก็คือกำลังใจของผู้ป่วย ซึ่งเรายอมรับโดยทุกคนว่า จิตใจเป็นสิ่งสำคัญ   ชาวส่วยโบราณมีความเฉลียวฉลาดมาก  ได้ทำวิธีการร่ายรำเช่น  บวงสรวงแก้บน หรือการเรียกขวัญและกำลังใจ  เนื่องจากชาวส่วยได้ไปผจญภัยจากป่าใหญ่เพื่อคล้องช้าง  ได้ใช้ชีวิตอย่างลำบาก เพื่อต่อสู้ภยันตรายนานาประการ  ไม่ว่าอันตรายจากสัตว์ป่า  ไข้ป่า  และการต่อส้อเพื่อแย่งชิงลูกช้างจากแม่ช้าง  เมื่อกลับมาถึงบ้านและได้ประสบความสำเร็จกลับมา  พ่อแม่ลูกเมียและญาติๆ จึงได้จัดพิธีแก้บน  ร่ายรำเพื่อเรียกขวัญทำให้ผู้ที่กลับจากการผจญภัย  ในการคล้องช้างมีขวัญและกำลังใจดีขึ้น  รู้สึกภูมิใจในความสำเร็จ เมื่อชาวส่วยโบราณนำพิธีนี้มาช่วยเสริมกำลังใจให้คนป่วย  คนป่วยมีกำลังใจดีขึ้นและค่อยๆ หายจากอาการเจ็บป่วยดังนั้นจึงเรียกว่า "แกลออ"  แปลว่า
เล่น  หรือ แสดง    ออ  แปลว่า  ดี  หรือ หายจากการเจ็บป่วย
 

ความเป็นมาของการเล่นประเพณี แกลมอ

          เดิมชาวส่วยจะออกไปคล้องช้างในป่า  ก็จะทำพิธีบนบานกับพญาแถนให้คล้องช้างได้  เมื่อเดินทางไปคล้องช้าง  ก็จะนำของป่าที่พบในป่ากลับออกมาด้วยเพื่อแก้บน และการบนก็มักจะประสบผลสำเร็จก็จะมาทำพิธีแก้บน เรียกว่า  รำแก้บน หรือ  รำแกล  มอ  ความเชื่อนี้จึงตกทอดมาถึงปัจจุบัน  เมื่อการเดินทางไปคล้องช้างลดลงเรื่อยๆ ชาวส่วนจึงทำพิธีแก้บนนี้ การรำเพื่อการรักษาคนที่เจ็บป่วย และเรียกชื่อการรำนี้ว่า "แกล มอ  หรือ  แกล ออ"   
             ปัจจุบันและ มอ มีละเล่น เพียงไม่กี่หมูบ้าน และหมูบ้านเหล่านี้ มีอำเภอสำโรงทาบ จ ังหวัดสุรินทร์  รวมอยู่ด้วย

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธี  แกล มอ 

เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบพิธีแกลมอมีดังนี้
1.  แคน  1 ปี๊บ
2.  กลองโทน  1 ใบ
3.  ฆ้อง   1  ใบ

เครื่องเซ่นไหว้ในการเล่น แกล มอ 
     เครื่องเซ่นไหว้  ทำเป็นน  3  ชั้น  มัดด้วยสายปอ  มีความสูง  150 เซ้นติเมตร   ไว้สำหรับใส่เครื่องบวงสรวง  เช่น
1.  ธนู
2.  เรือ  ทำจากไม้มีขนาดเล็กพอถือได้
3.  พวงมาลัย
4.  ไม้พาย
5.  ช้าง  (ทำด้วยไม้ยอ)
6.  ม้า   (ทำด้วยไม้ยอ)
7.  มีด
8.  ธูปเทียน
9.  ข้าวตอก , ดอกไม้
10.  ผ้าใหม
11.  สไบ
12.  โต๊ะตั้งเครื่องเซ่นไหว้
13.  ต้นกล้วย
14.  กล้วย
15.  ข้าวต้ม
16.  แมงมุมตัวผู้  1  ตัว
17.  ไยแมงมุมมัดด้วยฝ้าย
18.  ไข่ไก่
19.  ขัน 5  ขัน  8  (กรวย  13  คู่)

การแต่งกายและการรำ

        ผู้รำเป็นหญิงแต่งกายด้วยผ้าใหมชุดสีดำ  ประมาณ  10 -15 คน และมีป้ายประคำคล้องคอ โดยจะมีครูบา  เป็นตัวแทนติดต่อกับพญาแถน  มีผ้าสไบสีดำ นั่งเป็นวงกลมมีคอกวัว คอกควายจำลอง ประมาณ  4 -  5  คอก  วางในทางเดิน
       

      

จัดทำโดย : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
นายศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
ชนัญชิดา   ทองคำ   chida.cha@chaiyo.com
 นงเยาว์   สมนาค   nsomnak@hotmail.com