what.gif (4683 bytes)กองทุนหมู่บ้าน 1 ล้านบาท   aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)

barslider.gif (11170 bytes)

 musica6.gif (538 bytes)  [กลับไปหน้าแรก ] [ภาษาส่วย ] [วัฒนธรรมประเพณี ] [ข้อมูลพื้นฐาน ] [ส่วนราชการ ] updated.gif (1754 bytes)

หลักการสำคัญของกองทุนหมู่บ้าน
        1. เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น
        2. ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคตตนเองด้วย "คุณค่า" และ "ภูมิปัญญา" ของตนเอง
        3. เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้าน / ชุมชน
        4. เชื่อมโยงการเรียนรุ้ระหว่างชุมชน ราชการ เอกชน และประชาสังคม
        5. กระจายอำนาจและพัฒนาประชาธิปไตยในท้องถิ่น

วัตถุประสงค์
        1. เป็นแหน่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านเพื่อการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชาวบ้าน
        2. ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านให้สามารถบริหารและจัดการเงินทุนของตนเอง
        3. เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถ   และแก้ไขปัญหาตามแนวเศรษฐกิจเพียงพอ
        4. กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานรากของประเทศ
        5. เสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและสังคมของประชาชน

    

อำนาจหน้าที่
        1. บริหารและจัดการเงินกองทุนหมู่บ้านให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
        2. ออกระเบียน ข้อบังคับ และหลักเกณฑ์ในการบริการจัดการกองทุนฯ  โดยที่สมาชิกของหมู่บ้านเห็นนชอบร่วมกัน
        3. รับสมาชิกและจัดทำทะเบียนข้อมูลสมาชิกทั้งที่เป็นบุคคลหรือกลุ่มที่มีอยู่ในหมู่บ้าน
        4. พิจารณาให้เงินกู้ตามระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการ ที่คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชาวบ้านได้ร่วมกันกำหนด
        5. สำรวจและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพ อุตสาหกรรมครัวเรือน และวิสาหกิจชุมชนในเขตท้องที่หมู่บ้านหรือชุมชนเมืองนั้น
        6. กรรมการกองทุนฯ มีวาระในการดำรงค์ตำแหน่งคราวละ 2 ปี (แต่จะดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้)

ขึ้นข้างบน หลักการสำคัญของกองทุนหมู่บ้าน
ที่มา
        1. ให้ผู้ใหญ่บ้านเรียกประชุมหัวหน้าครัวเรือนในหมู่บ้านครัวเรือนละ 1 คน เพื่อเปิดเวทีชาวบ้านคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน โดยจะต้องมีหัวหน้าครัวเรือนจำนวนไม่น้อยหว่า 3 ใน 4 ของครัวเรือนทั้งหมดในหมู่บ้าน เข้าร่วมประชุม
        2. ให้คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ เป็นผู้ให้คำปรึกษาแนะนำ   และสนับสนุนให้การเลือกสรรกรรมการฯ หมู่บ้าน   ดำเนินไปด้วยความโปรงใสบริสุทธิ์ ยุติธรรม
        3. ที่ประชุมชาวบ้านเป็นผผู้กำหนดวิธีการเลือกสรรคณะกรรมการฯหมู่บ้าน   เมื่อแล้วเสร็จให้ผู้ใหญ่บ้านและประชาคมหมู่บ้าน ตลอดจนคณะอนุกรรมการฯ ระดับอำเภอ   สนันสนุนให้การเลือกสรรคณะกรรมการฯ หมู่บ้าน เป็นไปตามมติของเวทีชาวบ้าน
        4. ส่วนของชุมชนเมือง   ให้ประธานคณะอนุกรรมการฯ ระดับอำเภอเป็นผู้ทำหน้าที่แทนผู้ใหญ่บ้านตามข้อที่ 1
        5. คณะกรรมการฯหมู่บ้าน   ต้องยื่นขอขึ้นทะเบียนจัดตั้งกองทุนต่อคณะกรรมการฯแห่งชาติ หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการฯ หมู่บ้าน ให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน หลังจากได้รับเลือก


การกู้ยืมเงินกองทุนหมู่บ้าน
        1. สมาชิกที่ต้องการกู้ยืมเงิน   ต้องยื่นคำขอกู้เงินโดยระบุวัตถุประสงค์ของการกู้ยืมโดยชัดเจน   แล้วยื่นต่อคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
        2. สมาชิกขอกู้ได้รายละไม่เกิน 20,000 บาท   หากต้องการกู้มากกว่านี้   ต้องส่งคำขอกู้เข้าสู่เวทีการพิจารณาของหมู่บ้าน (ในขั้นนี้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท) 3. ให้ผู้ได้รับเงินกู้เปิดบัญชีออมทรัพย์กับธนาคาร
        4. การชำระคืนเงินกู้   ผู้กู้จะต้องนำเงินไปส่งคืน ณ ธนาคารแล้วนำหลักฐานการส่งชำระเงินกู้ไปมอบให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
        5. ในกรณีที่ผู้กู้มิได้ดำเนินงานตามแผนงานหรือวัตถุประสงค์ที่ให้ไว้   ให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีอำนาจยกเลิกสัญญา   และเรียกคืนเงินกู้พร้อมดอกเบี้ยได้ทันที


เตรียมความพร้อมหมู่บ้านอย่างไร ?
          1. เตรียมแผนแม่บทชุมชน
        2. เตรียมระเบียบกองทุนหมู่บ้าน
        3. เตรียมคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน
        4. เตรียมสมาชิกหมู่บ้าน


เตรียมแผนแม่บทชุมชน
        1. ทำความเข้าใจผู้นำธรรมชาติและผู้นำทางการเรื่องแผนแม่บทชุมชน
        2. จัดทำเวทีชาวบ้าน   ทำความเข้าใจเรื่องแผนแม่บทชุมชน
        3. สำรวจข้อมูลครัวเรือน
        4. สรุปข้อมูลในเวทีชาวบ้าน
        5. กำหนดแผนพัฒนาชุมชนและทำกิจกรรมร่วมกัน
        6. แลกเปลี่ยนผลการทำกิจกรรม / สรุปบทเรียนร่วมกัน


เตรียมระเบียบบริหารกองทุนหมู่บ้าน
        1. จัดเวทีชาวบ้านให้ทุกคนรับรู้และเข้าใจในระเบียบกองทุนหมู่บ้านของรัฐบาล
        2. ยกร่างและปรับระเบียบให้สอดคล้องกับหมู่บ้าน
        3. สมาชิกจากทุกครัวเรือนและกลุ่มต่างๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน   ลงทะเบียนกับกองทุนหมู่บ้าน
        4. สมาชิกทั้งหมดให้ความเห็นชอบระเบียบกองทุนหมู่บ้าน


ลงข้างล่าง
เตรียมคณะกรรมการกองทุนระดับหมู่บ้าน 
   
   1. จัดเวทีชาวบ้าน   เชิญทุกคนมาช่วยกันยกร่างระเบียบ
        2. ที่ประชุมสมาชิกตกลงหลักเกณฑ์   และวิธีการคัดเลือกคณะกรรมการฯ
        3. คัดเลือกคณะกรรมการฯ ตามขั้นตอนที่สมาชิกเห็นชอบและลงมติ
        4. เสนอรายชื่อคณะกรรมการฯ ให้คณะอนุกรรมการฯ ที่ได้รับมอบหมาย

เตรียมสมาชิกหมู่บ้าน  
        1. แบ่งบทบาทของคณะทำงานชาวบ้านในชุมชน
        2. จัดกิจกรรมเสริมพัฒนาทักษะอาชีพ - การตลาดให้กับสมมาชิก
        3. จัดกิจกรรมออมทรัพย์และกองทุนสวัสดิการชุมชน
        4. เตรรียมคนทำบัญชีการเงิน


จัดทำโดย : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
นายศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
น.ส.ชนัญชิดา   ทองคำ   chida.cha@chaiyo.com
น.ส. นงเยาว์   สมนาค    somnaksripsa@catcha.com