aniflower.gif (2347 bytes)aniflower.gif (2347 bytes)

barslider.gif (11170 bytes)

     อมรมการขออนุญาตทำและขายเหล้าสาโท

การขออนุญาตทำและขายสุราแช่พื้นเมือง  และสุราแช่ชนิดสุราผลไม
        คุณสมบัติของผู้ขอรับอนุญาต
                1. เป็นสหกรณ์
                2. เป็นกลุ่มบุคคลธรรมดา ผู้มีสัญชาติไทยตามกฏหมายเกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชน
                3. เป็นกลุ่มเกษตรกรที่จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2542 และมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุราตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต
                4. เป็นนิติบุคคลตามประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีผู้ถือหุ้นทุกคนมีสัญชาติไทย  และภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ที่สถานที่ทำสุราตั้งอยู่ขณะที่ขออนุญาต

        สถานที่ตั้งโรงงาน
                1. ต้องแยกออกห่างจากส่วนที่ใช้อยู่อาศัยโดยชัดเจน
                2. ตั้งอยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
                3. สถานที่ทำสุราที่ใช้เครื่องจักร  ต้องมีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้า หรือใช้คนงานน้อยกว่า เจ็ดคน หรือ กรณีที่ใช้เครื่องจักรและคนงาน เครื่องจักร ต้องมีกำลังรวมต่ำกว่าห้าแรงม้าและคนงานต้องน้อยกว่าเจ็ดคน
                4. ต้องไม่มีเครื่องกลั่นสุราอยู่ภายในบริเวณสถานที่ทำสุรา

    สุราแช่ และผลิตภัณฑ์สุรา
                1. สุราแช่และผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ก่อนนำออกจำหน่ายจากสถานที่ทำสุรา  ต้องผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพก่อน  จากหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งต่อไปนี้  กรมสรรพสามิต  กรมวิชาการเกษตร  กรมวิทยาศาสตร์บริการ  สถาบันราชภัฎ หรือหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชนที่กรมสรรพสามิตให้ความเห็นชอบ
                2. น้ำสุราที่จะผ่านการตรวจวิเคราะห์คุณภาพได้ จะต้องมีแรงแอลกอฮอล์ไม่เกิน  15  ดีกรี ปริมาณเมทิลแอลกอฮอล์  วัตถุเจือปนอาหาร และสารปนเปื้อนในน้ำสุราไม่เกินมาตรฐานที่กระทรวงอุตสาหกรรมประกาศกำหนด
                3. ต้องบรรจุในภาชนะที่มีความเหมาะสม สะอาด ปิดให้สนิท ไม่ทำปฏิกิริยากับสุราและผลิตภัณฑ์ที่บรรจุนั้น  และสามารถปิดแสตมป์สุราที่ปากภาชนะบรรจุได้
                4. ฉลากที่ใช้ปิดภาชนะบรรจุสุรานั้น อย่างน้อยต้องมี  ข้อความดังต่อไปนี้ ชนิดสุรา  ชื่อสุรา ชื่อผู้ได้รับอนุญาต ที่ตั้งของสถานที่ทำสุรา ส่วนประกอบหลัก หรือวัตถุดิบที่ใช้ทำสุรานั้น  แรงแอลกอฮอล์ ขนาดบรรจุ  วันเดือนปีที่ผลิต  คำเตือนตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข

    

    ขั้นตอนการขออนุญาต
                1. ยื่นคำขออนุญาตสร้างสถานที่ทำสุรา  พร้อมด้วยแผนผังสังเขปแสดงสถานที่ตั้งโรงงาน อาณาเขตบริเวณและการจัดการแบ่งพื้นที่ทำสุรา การติดตั้งเครื่องจักรอุปกรณ์การผลิต(ถ้ามี)  พร้อมหลักฐานประกอบเช่นสำเนาใบสำคัญรับจดทะเบียนสหกรณ์ สำเนาข้อบังคับสหกรณ์ รายชื่อคณะกรรมการ สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคล สำเนาทะเบียนบ้าน  สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน เอกสารแสดงกรรมวิธีการทำสุรา ต่อสรรพสามิตจังหวัด
                2.  เมื่อได้รับอนุมัติจากสรรพมิตจังหวัดให้อนุญาตก่อสร้างโรงงานได้  โดยจะมีหนังสือแจ้งให้ดำเนินการก่อสร้างและผลิตสุราในระยะเวลาตามคำขอ แต่ไม่เกิน 24 เดือน เมื่อสร้างโรงงานเสร็จแล้วผู้ขออนุญาตจะต้องแจ้งสรรพสามิตจังหวัดให้ไปทำการตรวจสอบสภาพโรงงาน
                3.  เมื่อสรรพสามิตจังหวัดได้ตรวจสอบและอนุมัติแล้ว  จะแจ้งให้ผู้ขอรับอนุญาตมาทำการลงนามในสัญญาการผลิตสุรา  โดยจะดำเนินการลงนาม  ณ  สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด
                4.  เมื่อทำสัญญาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้ขออนุญาตต้องยื่นเรื่องราวขออนุญาตทำสุรา พร้อมทั้งชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาต  ณ สำนักงานสรรพสามิตจังหวัด พร้อมทั้งขอออนุญาตทำเชื้อสุราเพื่อใช้สถานที่ทำสุราด้วย
                5.  เมื่อผลิตสุราได้แล้ว  ต้องส่งตัวอย่างสุราดังกล่าวไปตรวจสอบคุณภาพก่อน  เมื่อผ่านการรับรองคุณภาพแล้ว  ให้ยื่นเรื่องพร้อมหนังสือรับรองคุณภาพ  ต่อสรรพสามิตจังหวัดเพื่อขออนุญาตนำออกจำหน่าย
                6.  สุราที่จำหน่ายจะต้องชำระภาษีโดยการติดแสตมป์สุราก่อน  จึงจะนำออกจากโรงงานได้

 

มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับสุราแช่พื้นเมืองและสุราผลไม้

    วัตถุเจือปน
        วัตถุเจืปนอาหารให้ใช้ได้ตามชนิดและปริมาณที่กำหนด ต่อไปนี้
    1. ซัลเฟอร์ไดออไซด์ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
    2. กรดซอร์บิกหรือเกลือของกรดนี้คำนวณเป็นกรดซอร์บิค ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
    3. กรดเบนโซอิกหรือเกลือของกรดนี้ คำนวณเป็นกรดเบนโซอิก ไม่เกิน 250 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
    4. สารปรุงแต่งสี กลิ่น รส และกลิ่นรส ในปริมาณที่เหมาะสม

                สารปนเปื้อน
    สารปนเปื้อนที่อาจมีอยู่ต้องไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนดในตารางดังต่อไปนี้

รายการที่ สารปนเปื้อน ปริมาณสูงสุดที่ยอมให้มีได้มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร
1 ทองแดง 5
2 เหล็ก 15
3 ตะกั่ว 0.2
4 สารหนู 0.1
5 เฟอร์โรไซยาไนด์ ต้องไม่พบ

หมายเหตุ  เป็นการตรวจสอบโดยผ่านงานที่กรมสรรพสามิตได้ให้ความเห็นชอบ  เช่น สถาบันราชภัฏ  กรมวิชาการเกษตร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นต้น

จัดทำโดย : ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอสำโรงทาบ  อำเภอสำโรงทาบ  จังหวัดสุรินทร์  32170  โทร. 044 - 569213
นายศรายุทธ บูรณ์เจริญ     ผู้อำนวยการ     srayudhb@hotmail.com  , srayudhb@mweb.co.th , srayudh@chaiyo.com
น.ส.ชนัญชิดา   ทองคำ   chaida.cha@chaiyo.com
น.ส. นงเยาว์   สมนาค nsomnak@hotmail.com